รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร มีวิธีการขอรีไฟแนนซ์บ้านอย่างไร

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นเทคนิคหนึ่งในการผ่อนบ้านให้หมดไวขึ้น เพราะว่าเป็นการขอลดดอกเบี้ยในการผ่อนชำระหนี้ คุณกำลังมองหารายละเอียดเพิ่มเติมของการขอรีไฟแนนซ์บ้านอยู่หรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน พร้อมข้อดีข้อเสียมานำเสนอ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการรีไฟแนนซ์บ้าน ที่จะช่วยให้คุณคลายข้อสงสัยต่างๆไปได้เลย

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารแห่งใหม่ เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าธนาคารแห่งเก่า ซึ่งจะช่วยให้ลดภาระหนี้และภาระค่าผ่อนต่อเดือน เพื่อลดภาระสินเชื่อเงินกู้เก่าที่มีอยู่ โดยมีบ้านเป็นหลักประกัน 

วัตถุประสงค์ของการรีไฟแนนซ์ คือ ลดอัตราดอกเบี้ยบ้านให้ต่ำลง และช่วยให้ยอดผ่อนบ้านต่อเดือนลดน้อยลง ซึ่งยังทำให้การผ่อนบ้านใช้เวลาลดน้อยลงอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น กรณีที่เราซื้อบ้านหลังละ 1 ล้านบ้าน พอผ่อนไป 1-3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่กำหนดกับทางธนาคาร แต่หลังจากนั้นมักจะเจอปัญหาดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้ในแต่ละงวด เงินผ่อนไปตกอยู่ที่ดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นของบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเข้าไปขอลดดอกเบี้ยกับทางธนาคารเดิม หรือทำการรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ก็ได้

***เราจะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้เมื่อหมดสัญญากับธนาคารที่ขอสินเชื่อแห่งแรก หรือประมาณ 37 เดือน

2 สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการรีไฟแนนซ์บ้าน

  1. ดอกเบี้ย การการคำนวนอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านมี 2 ประเภทคือ
    1. ดอกเบี้ยแบบคงที่ โดยธนาคารผู้ให้กู้จะระบุกับผู้ขอสินเชื่อว่าจะทำการคิดดอกเบี้ยอัตราคงที่ ในระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น หรือตามธนาคารกำหนด
    2. ดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยธนาคารผู้ให้กู้จะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งธนาคารจะต้องทำการอ้างอิงจาก ดอกเบี้ย MRR, MOR, MLR
  2. ระยะเวลาการผ่อน

การรีไฟแนนซ์บ้าน มีผลกับระยะเวลาการผ่อนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเรามีการขอปรับอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลงแล้ว จะทำให้สามารถผ่อนเงินต้นได้สูงกว่าเดิม และทำให้ใช้เวลาในการผ่อนบ้านลดลงอีกด้วย

7 ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง

1. พิจารณาระหว่างธนาคารเดิมกับธนาคารใหม่

หากกำลังลังเลว่าอยากลดดอกเบี้ยบ้านให้ลดลง แต่ไม่อยากเสียเวลาในการเตรียมเอกสารและการดำเนินการโอนบ้านระหว่างธนาคารใหม่กับธนาคารเก่า คุณสามารถทำการติดต่อธนาคารแห่งเดิมเพื่อทำการขอลดดอกเบี้ย (Retention) 

  • ข้อดีของการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารแห่งเดิม คือ ไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการ และไม่ต้องเสียค่าโอน
  • ข้อเสียของการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารแห่งเดิม คือ โดยส่วนมาก ธนาคารเดิมจะให้ข้อเสนอที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าการทำรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่

2. ตรวจสอบสัญญาการขอสินเชื่อบ้านก่อนทำการตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน

ก่อนทำการตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ควรทำการตรวจสอบสัญญาว่า ถึงกำหนดการที่สามารถให้รีไฟแนนซ์ได้หรือยัง โดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะอนุญาตให้รีไฟแนนซ์ได้หลังผ่อนชำระครบ 36 เดือน หรือ 3 ปี แต่หากต้องการรีไฟแนนซ์ก่อน ทางผู้กู้จะต้องชำระค่าปรับให้กับทางธนาคาร

3. ตรวจสอบข้อมูลยอดสินเชื่อบ้านคงเหลือ

ผู้ขอสินเชื่อสามารถติดต่อกับธนาคารแห่งเดิมเพื่อสรุปยอดสินเชื่อบ้านคงเหลือและประวัติการทำการผ่อนชำระ โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเลือกธนาคารใหม่ ผ่านการนำยอดหนี้ที่คงเหลือไปคำนวณกับข้อเสนอที่ธนาคารมอบให้

4. พิจารณาธนาคารที่เหมาะสมในการรีไฟแนนซ์

ติดต่อกับธนาคารต่างๆ เพื่อรับข้อเสนอในการเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อน โดยแต่ละธนาคารจะมีข้อเสนอที่แตกต่างกันไป

5. เตรียมเอกสารสำหรับรีไฟแนนซ์บ้านให้พร้อม

สำหรับการรีไฟแนนซ์มีเอกสารหลายส่วนที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ในการทำสัญญา เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา คุณควรทำการเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยเอกสารต่างๆ จะมีความคล้ายกับการยื่นกู้ซื้อบ้านใหม่อีกรอบ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

เอกสารส่วนตัว

  • สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • ทะเบียนสมรส (กรณีกู้ร่วม)
  • เอกสารแสดงหลักฐานทางการเงิน (สำหรับผู้ที่เป็นพนักงานบริษัท)

สลิปเงินเดือนล่าสุด

  • หนังสือรับรองเงินเดือนไม่เกิน 3 เดือน
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • เอกสารแสดงหลักฐานทางการเงิน (สำหรับเจ้าของกิจการส่วนตัว)

เอกสารทะเบียนการค้า ทะเบียนบริษัท

  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
  • เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน

สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)

  • สำเนาหนังสือสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด
  • สำเนาสัญญากู้จากธนาคารเก่า
  • สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
  • สำเนาใบเสร็จแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือสำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป

6. ยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์

หลังเตรียมเอกสารและรายชื่อธนาคารที่สนใจเรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปขอสินเชื่อกับทางธนาคารที่สนใจได้ โดยเมื่อธนาคารรับเรื่องแล้ว จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินสภาพบ้าน หรือที่าทางธนาคารมองว่าเป็นหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วทางธนาคารจะติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามหนี้คงเหลือและนัดวันไถ่ถอนต่อไป

  1. ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

ในวันที่โอนจดจำนองที่ดอน ทางธนาคารจะมีเจ้าหน้าที่ถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดินเพื่อทำสัญญา พร้อมกับการทำสัญญาจดจำนองในวันเดียวกัน หลังทำสัญญาและจดจำนองเรียบร้อยแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการรีไฟแนนซ์

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรีไฟแนนซ์

เมื่อธนาคารแห่งใหม่อนุมัติสินเชื่อแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีการเตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะน้อยกว่าการซื้อบ้านแบบปกติ โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • ค่าประเมินราคา ประมาณ 2-3 พัน ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของธนาคาร
  • ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้
  • ค่าประกันอัคคีภัย
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน (ไม่เกิน 10,000 บาท)
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะอยู่ประมาณ 2-4% ของวงเงินสินเชื่อบ้าน หรือตีเป็นจำนวนเงินที่ประมาณ 10,000-30,000 บาท ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของธนาคาร ดังนั้น หากคุณกำลังหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการขอรีไฟแนนซ์บ้าน ควรปรึกษากับทางธนาคารแห่งใหม่เกี่ยวกับรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ เพื่อเป็นการคำนวณในเบื้องต้นว่าการยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์นั้นคุ้มค่าหรือไม่

Join The Discussion

Compare listings

Compare